มาตรฐาน ISO ที่สำคัญในไทยมีอะไรบ้างISO - naviCompany list center

03/07/2023 มาตรฐาน ISO ที่สำคัญในไทยมีอะไรบ้าง

การพัฒนาองค์ให้อยู่ในระดับที่มีมาตรฐานจนได้รับความน่าเชื่อถือ และได้รับไว้วางใจจากลูกค้า หรือผู้ใช้บริการนั้นก็อาจจะไม่ง่ายนัก แต่ระดับมาตรฐานที่ช่วยให้เป็นองค์ที่ดีได้ ก็คือ มาตรฐาน ISO นั่นเอง ซึ่งเป็นมาตรฐานขององค์กรในระดับสากลที่มีองค์การมากมายทั่วโลกนิยมใช้กัน โดยเฉพาะธุรกิจ และอุตสาหกรรมที่จะให้ความสำคัญในเรื่องของการได้รับมาตรฐาน ISO เป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจขององค์กรที่มีต่อลูกค้า หรือผู้ใช้บริการได้มากทีเดียว

มาตรฐาน ISO ที่สำคัญในไทยมีอะไรบ้าง
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้รับเอาระบบคุณภาพอนุกรมมาตรฐานสากล ISO มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพในการบริหารองค์กร โดยมาตรฐาน ISO ที่สำคัญในประเทศไทยได้แก่

1. มาตรฐาน ISO 9000 มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ
โครงสร้างของอนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
• กลุ่มมาตรฐานข้อกำหนด ใช้เพื่อขอรับการรับรอง
•• ISO 9001 มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ เรื่องการออกแบบ การผลิต การติดตั้ง และการบริการ
•• ISO 9002 มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ เรื่องการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
•• ISO 9003 มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ เรื่องการตรวจ และการทดสอบขั้นสุดท้าย
• กลุ่มมาตรฐานข้อแนะนำ ใช้เพื่อสนับสนุนการนำมาตรฐานไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ISO 9000 แนวทางการเลือกและการใช้มาตรฐานในอนุกรม ISO 9000
ISO 9004 เป็นข้อแนะนำในการจัดระบบการบริหารงานคุณภาพ เพื่อให้องค์กรที่มีการใช้มาตรฐานนี้ได้มีระบบที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด

2. มาตรฐาน ISO 14000 มาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ISO 14000 เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทั้งในส่วนของ กิจการภายใน การผลิตสินค้า และการจัดการเรื่องผลกระทบ โดยมีการกำหนดความรับผิดชอบ การปฏิบัติงาน ระเบียบปฏิบัติ กระบวนการ ดูแลทรัพยากร ซึ่งมาตรฐาน ISO 14000 นี้ สามารถใช้ได้กับทั้งระบบอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ เช่นเดียวกับ ISO 9000 ทั้งนี้ 14000 มีเนื้อหาแบ่งออกได้ ดังนี้

• ISO 14001 เป็นข้อกำหนดที่ช่วยในเรื่องของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
• ISO 14004 เป็นข้อแนะนำที่ช่วยในด้านหลักการและเทคนิคในการจัดระบบ
• ISO 14010 เป็นหลักการทั่วไปของการตรวจประเมินขององค์กร
• ISO 14011 เป็นวิธีการตรวจประเมินระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร
• ISO 14012 เป็นข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้ตรวจประเมิน
• ISO 14020 เป็นหลักการพื้นฐานในการติดฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
• ISO 14021 เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และสัญลักษณ์ให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการสามารถประกาศรับรองได้ว่ามีการผลิตสินค้าและบริการที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้จริง
• ISO 14024 เป็นหลักการ ระเบียบปฏิบัติ ข้อกำหนด และวิธีการรับรองผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของหน่วยรับรอง
• ISO 14040 เป็นหลักการพื้นฐานและกรอบการดำเนินงาน
• ISO 14041 เป็นการรวบรวมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม
• ISO 14042 เป็นการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
• ISO 14043 เป็นการแปรผลที่ได้จากข้อมูล

3. มาตรฐาน ISO 17025 มาตรฐานการประเมินความสามารถทางวิชาการของห้องปฏิบัติการ
ISO 17025 คือ มาตรฐานสากลซึ่งเป็นการประเมินความสามารถทางวิชาการของห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 ที่ครอบคลุมในทุกด้านของการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ ตั้งแต่การเตรียมตัวอย่างชำนาญในการวิเคราะห์ ทดสอบ การเก็บบันทึก และการรายงานผลระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ การควบคุมเอกสาร การปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน สถานที่ และสภาพภาพแวดล้อม รวมถึงเครื่องมือของห้องปฏิบัติการด้วย

4. มาตรฐาน ISO 18000 มาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
มาตรฐาน ISO 18000 เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมถึงแนวทางในการป้องกันมิให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพและอุบัติเหตุต่าง ๆ ต่อผู้ปฏิบัติงานและต่อสังคม โดยรวมทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตลอดจนชุมชนใกล้เคียง ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้นเพื่อ ใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดทำระบบการจัดการอาชีวะอนามัยและความปลอดภัยขององค์การ และพัฒนาปรับปรุงระบบให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องนั่นเอง โดยมาตรฐาน ISO 18000 แบ่งออกเป็น
• มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
• มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

5. มาตรฐาน ISO 22000 มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของอาหาร
มาตรฐาน ISO 22000 เป็นระบบการจัดการความปลอดภัยของ อาหาร ครอบคลุมทั้งข้อกำหนดของ GMP, HACCP และข้อกำหนดสำหรับระบบการจัดการในองค์กร โดยมาตรฐาน ISO 22000 จะมีการเน้นที่ผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาการจัดการความปลอดภัยของอาหารให้มีความชัดเจน และเน้นในเรื่องของการสื่อสารร่วมกันระบบการจัดการและการควบคุมอันตรายด้วย

สำหรับองค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทย สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญนอกจากเรื่องของการทำธุรกิจแล้ว ในเรื่องของมาตรฐานองค์กรก็เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากมาตรฐานขององค์กรจะเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าองค์กรที่มีการดำเนินกิจการอยู่นั้นเป็นไปตามที่ได้รับการยอมรับของลูกค้า หรือผู้ใช้บริการหรือไม่ การเข้าสู่มาตรฐาน ISO จึงเป็นสิ่งที่ช่วยองค์กรต่าง ๆ ได้มากทีเดียว โดยมาตรฐาน ISO ที่สำคัญในประเทศไทยก็มีอยู่หลากหลายแบบตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นมาตรฐานองค์กรที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญ และทำตามนั่นเอง